รับจดทะเบียนบริษัท

บริการรับจดทะเบียนนิติบุคคล

บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง มีทีมงานที่มากประสบการณ์ และความชำนาญทางด้านรับจดทะเบียนนิติบุคคล หรือจดทะเบียนธุรกิจประเภทต่าง ๆ (Business Registration) เช่น รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน บริษัทมหาชน รวมทั้งมูลนิธิ และสมาคม รวมถึงขออนุญาตการประกอบธุรกิจ และรับจดทะเบียนบริษัทต่างชาติหรือจัดตั้งธุรกิจให้ชาวต่างชาติที่ต้องการลงทุนในประเทศไทย เช่น สำนักงานผู้แทน สำนักงานสาขาต่างประเทศ และการขออนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพื่อให้จัดตั้งธุรกิจของผู้ประกอบการไทย และนักลงทุนต่างชาติเป็นไปอย่างราบรื่น ตรงตามวัตถุประสงค์ และสะดวกรวดเร็ว

การจดทะเบียนนิติบุคคล หรือจดทะเบียนธุรกิจประเภทต่าง ๆ ผู้ประกอบการ และนักลงทุนต่างชาติต้องเลือกประเภทการจดทะเบียนให้สอดคล้องเหมาะสมกับธุรกิจที่จะดำเนินการ โดยผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้านในการเริ่มต้นจัดตั้งธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือ รายได้ต่อปี ประเภทของลูกค้า ทุนจดทะเบียน จำนวนผู้ร่วมลงทุน ผู้ถือหุ้น การระดมทุน ความคล่องตัวในการบริหารงาน ตลอดจนแผนการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต และหลักกฎหมาย

บริการรับจดทะเบียนบริษัท

ก่อนที่จะใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทอยากให้เข้าใจถึงรูปแบบของบริษัทก่อน บริษัทจำกัดเป็นรูปแบบของนิติบุคคลที่ถูกจัดตั้งขึ้น โดยมีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยเงินทุนนั้นแบ่งออก เป็นหุ้นที่มีมูลค่าเท่ากัน ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงิน ตนยังชำระค่าหุ้นไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือหุ้นอยู่ โดยมีกรรมการมีอำนาจลงนามในเอกสารใด ๆ ที่จะผูกพันบริษัท ใช้คำนำหน้าว่า “บริษัท” และคำว่า “จำกัด” ต่อท้ายชื่อ

ข้อมูลและเอกสารที่ใช้ในการรับจดทะเบียนบริษัท

  • ชื่อบริษัท ภาษาไทย/อังกฤษ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้เริ่มก่อการ (อย่างน้อย 3 ท่าน) พร้อมเบอร์โทร
  • ที่ตั้งสำนักงาน พร้อมเลขรหัสประจําบ้านของที่ตั้งสํานักงาน เบอร์โทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์ (สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสำนักงาน)
  • แผนที่ตั้งบริษัท
  • วัตถุประสงค์ของบริษัทที่จะประกอบกิจการค้า
  • สัดส่วนผู้ถือหุ้นแต่ละท่าน
  • กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และเงื่อนไขการลงนาม
  • ทุนจดทะเบียน มูลค่าหุ้น (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท)

กรีนโปร เคเอสพี ให้บริการรับจดทะเบียนนิติบุคคล รับจดทะเบียนบริษัท รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี กรีนโปร เคเอสพี มีสำนักงานบริษัทอยู่ในเมืองที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีความน่าเชื่อถือ เราได้รับความไว้วางใจให้บริการรับ
จดทะเบียนบริษัทแก่ลูกค้ามาแล้วเป็นจำนวนมาก เราให้บริการด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในการจดทะเบียน มีความเอาใจใส่ในการให้ข้อมูล และให้คำแนะนำในการจดทะเบียนบริษัทแก่ลูกค้าอย่างครบถ้วน ด้วยบริการที่ดี ราคาถูก โดยเป็นราคาที่สมเหตุสมผล เราให้คำแนะนำเรื่อง
แพคเกจ และแสดงราคาค่าบริการจดทะเบียนบริษัทอย่างชัดเจน ให้บริการอย่างถูกต้องแม่นยำ และชัดเจน พร้อมจัดทำเอกสารจดทะเบียนอย่างถูกต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฏหมาย ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากแก่ลูกค้าผู้ใช้บริการในภายหลัง นอกจากนี้เรายังมีเอกสารแนะนำถึงหน้าที่หลังจากจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ให้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนกับทางเราอีกด้วย

บริการรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วน คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำธุรกิจร่วมกันเพื่อแสวงหากำไร และแบ่งผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ บุคคลที่เป็นหุ้นส่วนสามารถลงหุ้นด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ ถ้าลงหุ้นด้วยทรัพย์สิน หรือแรงงานต้องคิดราคาเป็นจำนวนเงิน

ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีบุคคลเป็นหุ้นส่วนประเภทเดียวกัน คือ “หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด” โดยหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
  2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น) และอีกประเภท คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด)

ข้อมูลและเอกสารที่ใช้ในการรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด

  • ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาษาไทย/อังกฤษ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้เป็นหุ้นส่วน (อย่างน้อย 2 ท่าน) โดยเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน และเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน  พร้อม อาชีพ และเบอร์โทรศัพท์
  • ทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัด และรายละเอียดของจำนวนเงินลงทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัด ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกท่าน 
  • ที่ตั้งสำนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัด พร้อมเลขรหัสประจําบ้านของที่ตั้งสํานักงาน เบอร์โทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์ (สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสำนักงาน)
  • แผนที่ตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จะประกอบกิจการค้า
  • หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนาม และเงื่อนไขการลงนาม

สนใจบริการรับจดทะเบียนนิติบุคคล รับจดทะเบียนบริษัท รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ติดต่อสอบถามบริการ ยินดีให้บริการค่ะ

บริการรับจดทะเบียนบริษัทมหาชน

บริษัทมหาชนเป็น บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน และผู้ถือหุ้นจะจำกัดความรับผิดตามจำนวนเงินที่จ่ายค่าหุ้น บริษัทมหาชนไม่ได้กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำโดยข้อกำหนดในการจัดตั้งบริษัทมหาชนมีดังนี้
  1. ต้องมีผู้ก่อการอย่างน้อย 15 คนในการจัดตั้ง และจดทะเบียนบริษัทมหาชน
  2. คณะกรรมการต้องมีอย่างน้อย 5 คน และอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการต้องมีภูมิลำเนาในประเทศไทย
  3. หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
  4. ผู้เริ่มก่อการต้องจองซื้อหุ้น และหุ้นที่จองทั้งหมดนั้นต้องเป็นหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเป็นตัวเงินรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของทุนจดทะเบียน และหุ้นดังกล่าวไม่สามารถโอนได้ก่อนครบกำหนดสองปีนับจากวันจดทะเบียนเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น

บริการรับจดทะเบียนมูลนิธิ

มูลนิธิ คือ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกันระหว่างสมาชิก การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง

ข้อกำหนดสำหรับการจดทะเบียนมูลนิธิ

  • มูลนิธิต้องมีมูลค่าทรัพย์สินเป็นกองทุน ในการขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท ถ้ามีทรัพย์สินอย่างอื่นจะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 250,000 บาท และเงินจำนวนนี้จะต้องถูกเก็บไว้ในบัญชีธนาคาร โดยไม่สามารถนำมาใช้จ่ายได้
  • ต้องมีข้อบังคับของมูลนิธิ และข้อบังคับนั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย
  • ต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิ ประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย 3 คน ในการจัดตั้ง และดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
  • ต้องมีชื่อและที่อยู่อย่างเป็นทางการและต้องจดทะเบียนภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2535

บริการรับจดทะเบียนสมาคม (จดทะเบียนกับมหาดไทย)

สมาคมเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคล โดยต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 10 คนขึ้นไป เพื่อทำการใดๆ เป็นการต่อเนื่องร่วมกัน โดยไม่ใช่เป็นการแสวงหาผลกำไร หรือเป็นการรายได้มาแบ่งกัน ซึ่งรายได้ของสมาคมนั้นจะมาจากค่าลงทะเบียน ค่าสมาชิกรายปี และรายได้จากการจัดกิจกรรมของสมาคม เพื่อใช้จ่ายในกิจการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมนั้น ทั้งนี้สมาคมต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการจัดตั้งสมาคม โดยหากว่าวัตถุประสงค์ของสมาคมนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับทางด้านวัฒนธรรมต้องมีใบอนุญาตจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ หรือ วัตถุประสงค์เกี่ยวกับทางด้านกีฬาต้องมีหน้งสือ
อนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ ในกรณีที่วัตถุประสงค์เกี่ยวกับทางด้านศาสนาต้องมีหนังสือรับรองสนับสนุนจากกรมศาสนา หรือถ้าวัตถุประสงค์เป็นเรื่องอื่นๆ ต้องมีหนังสือรับรองสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวนั้นๆ

ในการทำนิติสัมพันธ์หรือติดต่อบุคคลภายนอกของสมาคมต้องกระทำทำโดยคณะกรรมการสมาคม ในฐานะผู้แทนของสมาคม จึงจะมีผลผูกพันตามกฎหมาย ถ้าเป็นติดต่อกับสมาชิกของสมาคมจะไม่มีผลผูกพันตามกฏหมายแต่อย่างใด โดยทั้งนี้ในการแต่งตั้งกรรมการใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการบางส่วน ต้องทำตามข้อบังคับของสมาคมที่กำหนดไว้แล้วตั้งแต่ต้น และต้องจดทะเบียนกับนายทะเบียนสมาคมจึงจะมีผลสมบูรณ์ตาม
กฏหมาย คณะกรรมการสมาคมมีหน้าที่ต้องจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมทุกปี โดยจะระบุวันเดือนใดของปีก็ได้

ข้อมูลเบื้องต้นในการจัดตั้งสมาคม
1. สมาคมต้องมีข้อบังคับของสมาคม
2. ต้องมีรายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นสมาชิกสมาคม ไม่น้อยกว่าสิบคน
3. ต้องมี
รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นกรรมการของสมาคมทุกคน
4. ต้องมี
รายงานการประชุมในการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม
5. ต้องมี
หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ในการจัดตั้งสมาคม ทั้งสำนักงานใหญ่ หรือสาขาถ้ามี
6. ต้องมี
แผนที่ตั้งของสมาคมโดย ต้องระบุ เลขที่ ถนน แขวง เขต จังหวัดให้ชัดเจน
7. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของสมาชิกและกรรมการทุกคน
8. ทำแบบคำรับรองของบุคคลผู้จะมาเป็นกรรมการสมาคม โดยกรณีเป็นบุคคลต่างด้าว ต้องส่งข้อมูลบุคคลไปตรวจสอบประวัติฐานะและ
ความประพฤติ ณ สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ และสถานทูตของประเทศที่บุคคลนั้นถือสัญชาติอยู่

 

บริการรับจดทะเบียนสมาคมการค้า (จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

สมาคมการค้าคือสถาบันที่บุคคลหลายคน ซึ่งทำธุรกิจทางการค้าหรืออุตสาหกรรมหรือการเงินหรือทางการประมงหรือทางเกษตรกรรมหรือธุรกิจด้านอื่นๆ ร่วมกันทำการจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมกันในการประกอบวิสาหกิจ ซึ่งไม่เป็นการแสวงหาผลกำไรหรือนำรายได้แบ่งปันกัน

โดยสมาคมการค้าที่ได้รับการจัดตั้งจะมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีสิทธิ และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะทำการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

รายละเอียดการจดทะเบียนสมาคมการค้า
1. ต้องมีชื่อของสมาคมค้าที่เป็นอักษรภาษาไทย แต่จะมีอักษรภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และต้องมีป้ายชื่อสมาคมซึ่งเห็นได้ชัดเจนติดไว้ที่สำนักงานที่ตั้งสมาคม
2. ต้องมีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมการค้าอย่างน้อย 3 คน ร่วมกันจัดตั้งสมาคมการค้า โดยทั้งนี้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาและต้องเป็นกรรมการนิติบุคคลผู้ประกอบวิสาหกิจประเภทเดียวกัน หรือ วิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกัน และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจประเภทเดียวกันนั้น
3. 
สมาคมการค้าต้องมีข้อบังคับของสมาคมการค้า ซึ่งต้องมี ชื่อสมาคมการค้า วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน วิธีรับสมาชิก สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก และการให้ออกจากการเป็นสมาชิก การดำเนินกิจการของสมาคมการค้า การตั้งกรรมการสมาคมการค้า การออกจากตำแหน่งของกรรมการ การประชุมของกรรมการ และการประชุมใหญ่ของสมาคมการค้า
3. 
สมาคมการค้าต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนของสมาคมการค้าในการทำกิจการกับบุคคลภายนอก โดยทั้งนี้คณะกรรมการจะมอบหมายให้กรรมการคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้ทำการแทนก็ได้
ข้อมูลเบื้องต้นในการรับจดทะเบียนสมาคมการค้า
1. ข้อบังคับของสมาคมการค้า
2. หนังสือรับรองความประพฤติของผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้งสมาคม
3. 
สำเนาหนังสือแสดงสิทธิการใช้สถานที่จัดตั้ง ได้แก่หนังสือยินยอมใช้สถานที่ สัญญาเช่า
4. หลักฐานการเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคม ได้แก่หนังสือรับรองการจัดตั้งบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
5. 
แผนที่ตั้งสมาคมการค้า
6. 
รูปถ่ายของสมาคมการค้า

 

รับจัดตั้งสำนักงานผู้แทน

บริการรับจดทะเบียนสำนักงานผู้แทน

นิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศอาจจัดตั้ง “สำนักงานผู้แทน” ในประเทศไทย เพื่อให้บริการแก่สำนักงานใหญ่ หรือบริษัทในเครือหรือในกลุ่มที่อยู่ในต่างประเทศได้

ลักษณะของสำนักงานผู้แทน

  • เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และจัดตั้งสำนักงานในประเทศไทยเพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการแก่สำนักงานใหญ่ หรือบริษัทในเครือ หรือในกลุ่มที่อยู่ในต่างประเทศเท่านั้น
  • ให้บริการไปยังสำนักงานใหญ่ บริษัทในเครือหรือในกลุ่ม โดยไม่ได้รับรายได้จากการให้บริการ ยกเว้น เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายของสำนักงานผู้แทนซึ่งได้รับจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น
  • สำนักงานผู้แทนไม่มีอำนาจในการรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขาย หรือเจรจาธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ ทั้งสิ้น

ขอบเขตการให้บริการของสำนักงานผู้แทน จำกัดเฉพาะธุรกิจ 5 ประเภท ดังต่อไปนี้

  1. หาแหล่งจัดซื้อสินค้า หรือบริการในประเทศไทยให้แก่สำนักงานใหญ่ หรือบริษัทในเครือ หรือในกลุ่ม
  2. ตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ และปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ หรือบริษัทในเครือหรือในกลุ่มสั่งซื้อ หรือจ้างผลิตในประเทศไทย
  3. ให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าของสำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือ หรือในกลุ่มที่จำหน่ายแก่ตัวแทนจำหน่าย หรือผู้ใช้สินค้า
  4. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่ หรือบริษัทในเครือในกลุ่ม
  5. รายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ หรือบริษัทในเครือในกลุ่มทราบ

บริการรับจดทะเบียนสำนักงานสาขา

สำนักงานสาขาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และจัดตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ถือเป็นนิติบุคคลเดียวกับสำนักงานใหญ่ หนี้สิน และภาระผุกพันของสำนักงานสาขาที่เกิดจากการทำธุรกิจในประเทศไทยจะไม่ถูกจำกัดเพียงภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีผลผูกพันถึงสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศด้วย สำนักงานสาขาแตกต่างจากสำนักงานผู้แทนตรงที่สำนักงานสาขาได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้กว้างมากกว่าสำนักงานผู้แทนมาก สำนักงานสาขาสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้หลากหลาย เช่น ซื้อและขายสินค้า ลงนามในสัญญา ให้บริการ โดยไม่จำกัดว่าบริการนั้นจะสร้างรายได้หรือไม่ ทั้งนี้ หากธุรกิจที่จะดำเนินการเป็นธุรกิจที่ถูกจำกัดภายใต้ พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (FBA) นิติบุคคลที่ประสงค์จะจัดตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทยจะต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL) ต่อกระทรวงพาณิชย์ ก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ
ตามข้อกำหนดของใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่าวด้าว เงินลงทุนจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของค่าเฉลี่ยต่อปีของประมาณการรายจ่ายในการประกอบธุรกิจในสามปีแรก แต่ทั้งนี้จำนวนเงินลงทุนต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามล้านบาทสำหรับแต่ละธุรกิจ
ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

บริการรับขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL)

ตามบัญชี 3 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 อนุญาตให้ชาวต่างชาติทำธุรกิจในประเทศไทยโดยถือหุ้นมากกว่า 49% ได้ หากคุณเป็นชาวต่างชาติที่ต้องการทำธุรกิจภายใต้บัญชีนี้ คุณจะต้องยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL) ก่อน คุณจึงจะสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้
ธุรกิจในบัญชี 3 : ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว
  1. การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
  2. การทําการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  3. การทําป่าไม้จากป่าปลูก
  4. การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด หรือฮาร์ดบอร์ด
  5. การผลิตปูนขาว
  6. การทํากิจการบริการทางบัญชี
  7. การทํากิจการบริการทางกฎหมาย
  8. การทํากิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
  9. การทํากิจการบริการทางวิศวกรรม
  10. การก่อสร้าง ยกเว้น
    (ก) การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการสาธารณูปโภค หรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี หรือความชํานาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
    (ข) การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
  11. การทํากิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
    (ก) การเป็นนายหน้า หรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์
    (ข) การเป็นนายหน้า หรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาหรือบริการที่จําเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
    (ค) การเป็นนายหน้า หรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อ หรือจัดจำหน่ายหรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือนําเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
    (ง) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
  12. การขายทอดตลาด ยกเว้น
    (ก) การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
    (ข) การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
  13. การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้
  14. การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
  15. การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่ทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
  16. การทำกิจการโฆษณา
  17. การทำกิจการโรงแรม เว้นแต่บริการจัดการโรงแรม
  18. การนำเที่ยว
  19. การขายอาหารและเครื่องดื่ม
  20. การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
  21. การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจภายใต้ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
  1. เงินกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของผู้รับใบอนุญาต ต้องไม่เกินเจ็ดเท่าของเงินทุน หรือเงินที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาต
  2. ต้องมอบหมายผู้แทนอย่างน้อยหนึ่งคนจะเป็นคนไทย หรือต่างชาติก็ได้แต่ต้องอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย เพื่อดูแลรับผิดชอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาต
  3. นำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำเข้ามาในประเทศไทยเพื่อเริ่มดำเนินธุรกิจ
    3.1 ช่วงเวลาสำหรับการนำ หรือส่งเงินเข้ามาในประเทศไทย บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย ต้องนำส่งเงินตราต่างประเทศเข้ามาเพื่อเป็นทุนขั้นต่ำ นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจหรือวันที่ได้รับอนุญาต โดยมีระยะเวลาในการนำส่งเข้ามาในประเทศไทย ดังนี้
    3.1.1 กรณีประกอบธุรกิจไม่ถึง 3 ปี ต้องนำ หรือส่งเงินทุนขั้นต่ำเข้ามาในประเทศไทยภายใน 6 เดือน
    3.1.2 กรณีประกอบธุรกิจตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ต้องนำ หรือส่งเงินทุนขั้นต่ำเข้ามาในประเทศไทยภายใน 3 ปี ดังนี้
      – ภายในสามเดือนแรกต้องนำ หรือส่งเข้ามาไม่น้อยกว่า 25% ของทุนขั้นต่ำ
      – ภายใน 1 ปี ต้องนำส่งให้ครบ 50% ของทุนขั้นต่ำ
      – ส่วนที่เหลือต้องนำหรือส่งเข้ามาปีละไม่น้อยกว่า 25% ของทุนขั้นต่ำ (โดยคำนวณเป็นเงินสกุลบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราอ้างอิงในวันที่นำ หรือส่งทุนขั้นต่ำเข้ามาในประเทศไทยเป็นเกณฑ์)
    3.2 หลักฐานการนำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำเข้ามาในประเทศไทยจะต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในสิบห้าวันนับแต่วันนำ หรือส่งทุนขั้นต่ำเข้ามาในประเทศไทย
การยื่นขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL) จะต้องมีข้อมูลผู้ยื่นคำขอประเภทธุรกิจที่ต้องการยื่นคำขอ ลักษณะของธุรกิจ และขั้นตอนการดำเนินงาน โครงสร้างเงินทุน โครงสร้างธุรกิจ ขนาดธุรกิจ การจ้างงาน และที่สำคัญที่สุดคือแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งจะต้องถูกพิจารณาว่าเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคมไทย รวมถึงต้องจัดทำประมาณการทางการเงินเป็นระยะเวลา 3 ปีด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อบริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด ได้ที่ช่องทางด้านล่างค่ะ