มีลูกค้ามาปรึกษาพี่เก่ง และนัดพูดคุยกันเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีกำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน มีประเด็นที่น่าสนใจจากกรณีศึกษานี้ 5 เรื่องด้วยกันที่พี่เก่งได้ยกเป็นตัวอย่าง
รายละเอียดเนื้อหาสรุปจากคลิปวีดีโอบรรยาย+เพิ่มเติม สำหรับท่านใดต้องการฟังแบบคลิปบรรยาย
คลิกลิงก์ https://youtu.be/EQUhLQ4p7RM
หรือรับชมได้จากคลิปด้านล่างบทความนี้
1.ด้านการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งการนำเข้าแบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1.1 การนำเข้าวัตถุดิบที่จะต้องโอนเงินค่าไปให้ supplier ก่อนถึงจะมีการส่งสินค้า ในกรณีนี้วันที่โอนเงินไปต่างประเทศ ใช้อัตราแลกเปลี่ยนวันนั้นในการบันทึกบัญชี โดยไม่เกิดผลกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น รายการบันทึกบัญชี ดังนี้
วันที่จ่ายเงินค่าวัตถุดิบ
Dr. เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า (Advance for goods) 3,200
Cr. เงินฝากธนาคาร 3,200
วันที่วัตถุดิบถึงท่าเรือ
Dr. ซื้อสินค้า 3,200
Cr. เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า (Advance for goods) 3,200
1.2 การนำเข้าวัตถุดิบ โดยขอสินเชื่อกับธนาคาร ด้วยวิธีการเปิด LC ซึ่งได้เครดิตจากธนาคาร 60 วัน. กรณีนี้รายการบัญชีจะมีการบันทึกบัญชี 2 ขั้นตอน คือวันที่สินค้าถึงท่าเรือที่เมืองไทย (เงื่อนไขการซื้อเป็นแบบ CIF) และ วันที่จ่ายชำระให้กับทางธนาคารและจะรายการรับรู้กำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน โดยการบันทึกบัญชี มีดังนี้
-วันที่วัตถุดิบส่งมาถึงท่าเรือเมืองไทย ณ.วันนี้สามารถบันทึกตามอัตราแลกเปลี่ยนตามใบขนเข้าได้
(สมมุติว่านำเข้าวัตถุดิบ ที่ราคา 100 USD และอัตราแลกเปลี่ยนตามใบขนขาเข้า = 32บาท/ 1 USD) รายการบัญชีจะบันทึกดังนี้
วันที่วัตถุดิบมาถึงท่าเรือ
Dr. สินค้าระหว่างทาง (100* 32บาท/USD). 3,200
Cr. เจ้าหนี้ธนาคาร LC 3,200
วันที่วัตถุดิบถึงบริษัท
Dr. ซื้อสินค้า 3,200
Cr. สินค้าระหว่างทาง 3,200
-วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ LC ให้ธนาคาร การลงบันทึกบัญชีจะเกิด กำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยนดังนี้
(สมมุติ 33บาท/ 1 USD) รายการบัญชีจะบันทึกดังนี้
Dr. เจ้าหนี้ธนาคาร LC 3,200
กำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน 100
Cr. ธนาคาร (100* 33บาท/USD). 3,300
1.3 ถ้าในกรณี ณ.สิ้นรอบปีบัญชี และยังมีเจ้าหนี้ธนาคาร LC คงค้างอยู่ จะต้องมีการปรับมูลค่าของเจ้าหนี้ LC ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ.วันสิ้นรอบบัญชีด้วย อัตราซื้อของธนาคารแห่งประเทศไทย รายการบัญชีจะบันทึกดังนี้ (สมมุติ 33.5บาท/ 1 USD)
Dr. กำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน (100* 33.50 -33.00 ) 50
Cr. เจ้าหนี้ธนาคาร LC 50
2.ด้านการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายที่ต่างประเทศ ให้เครดิตลูกค้า 30 วัน เงื่อนไขการส่งมอบ CIF
2.1 วันที่ส่งออกสินค้าไปที่ต่างประเทศใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามวันที่ในใบขนขาออก โดยการมีรายการบันทึกบัญชี ดังนี้. (สมมุติว่าขายสินค้าราคา 100 USD และอัตราแลกเปลี่ยนตามใบขนขาออก = 32บาท/ 1 USD)
Dr. ลูกหนี้การค้าต่างประเทศ (100* 32บาท/USD) 3,200
Cr. ขายสินค้าต่างประเทศ 3,200
2.2 วันที่ลูกหนี้ต่างประเทศครบกำหนดชำระหนี้ และชำระเงินเข้ามา การลงบันทึกบัญชีจะเกิด กำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน (สมมุติ 33บาท/ 1 USD) รายการบัญชีจะบันทึกดังนี้
Dr. เงินฝากธนาคาร (100* 33บาท/USD). 3,300
Cr.ลูกหนี้การค้าต่างประเทศ 3,200.
กำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน 100
2.3 ถ้าในกรณี ณ.สิ้นรอบปีบัญชี และยังมีบัญชีลูกหนี้การค้าต่างประเทศคงค้างอยู่ จะต้องมีการปรับมูลค่าของลูกหนี้การค้าต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ.วันสิ้นรอบบัญชีด้วย อัตราขายของธนาคารแห่งประเทศไทย รายการบัญชีจะบันทึกดังนี้ (สมมุติ 33.5บาท/ 1 USD)
Dr. ลูกหนี้การค้าต่างประเทศ 50
Cr. กำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน (100* 33.50 -33.00 ) 50
3. กรณีที่มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นสกุลเงินดอลล่าสหรัฐอเมริกา
3.1 การลงบันทึกบัญชีของรายการที่เคลื่อนไหวในบัญชีนี้จะต้องบันทึกทุกครั้งที่มีรายการรับเข้า หรือจ่ายออก โดยให้อัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันที่เกิดรายการ ซึ่งจะเกิดกำไร(ขาดทุน)อัตราแลกเปลี่ยน ทุกครั้ง
3.2 ณ.สิ้นรอบปีบัญชี จะต้องมีปรับมูลค่าของบัญชีเงินฝากธนาคารต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ.วันสิ้นรอบบัญชีด้วยอัตราขายของธนาคารแห่งประเทศไทย รายการบัญชีจะบันทึกดังนี้ (สมมุติ33.5บาท/ 1 USD ซึ่งก่อนหน้านั้นอัตราถัวเฉลี่ย อยู่ที่ 33 บาท/1 USD)
Dr. เงินฝากธนาคารบัญชีต่างประเทศ 50
Cr. กำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน (100* 33.50 -33.00 ) 50
3.3 กรณีที่มีการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากบัญชีสกุล USD ไปบัญชีเงินบาท ที่อยู่ในธนาคารเดียวกัน หรือต่างธนาคาร. ต้องบันทึกด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันที่โอน และรับรู้กำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยอัตราขายของธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทย รายการบันทึกบัญชีดังนี้ ( สมมุติ 33.5บาท/ 1 USD ซึ่งก่อนหน้านั้นอัตราถัวเฉลี่ย อยู่ที่ 33 บาท/1 USD)
Dr. เงินฝากธนาคารไทย 3,350
Cr. กำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน (100* 33.50 -33.00 ) 50
เงินฝากธนาคารบัญชีต่างประเทศ 3,300
4. กรณีการคำนวณเสียภาษีนิติบุคคล บัญชี กำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งที่เกิดขึ้นจริง (Realize) และรายการที่ปรับอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันสิ้นรอบบัญชี (Unrealize) ตามหลักการของสรรพากร รับรู้เป็นรายการที่นำไปคำนวณภาษีนิติบุคคลทั้ง 2 ส่วน
5. กรณีเรื่องการใช้มาตรฐานบัญชีฉบับที่ 21 ตามมาตราฐาน IAS เรื่องผลกระทบจาการเปลี่ยนแปลงของอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในเรื่องนี้จะใช้มาตราฐานชุดนี้จะต้องปรับการบันทึกบัญชีเป็นชุดใหญ่ทั้งหมด และต้องปรึกษากับผู้สอบบัญชีของบริษัท แต่ตอนสิ้นปีที่ต้องทำงบการเงินส่งกระทรวงพาณิชย์ และ สรรพากร จะต้องแปลงค่าเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท