รับจัดตั้งมูลนิธิ ปัจจุบันมีผู้สนใจที่จะจัดเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะที่แตกต่างกันออกไป หากท่านยังไม่มีความเข้าใจในความหมายของมูลนิธิตามกฎหมายอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดของกฎหมาย การเตรียมเอกสาร รวมถึงขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิ เราจึงขอสรุปเพื่อให้ผู้สนใจมีความเข้าใจมากขึ้นดังนี้
รับจดทะเบียนมูลนิธิ
รับจดทะเบียนมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 ได้บัญญัติความหมายของมูลนิธิดังนี้ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
โดยทั้งนี้การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นมาซึ่งสรุปได้ว่า ความหมายของมูลนิธิตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนั้น ให้ความสำคัญอยู่ที่ทรัพย์สินคือ เป็นการนำเอาเงินสด และอสังหาริมทรัพย์มารวมกันเข้าเป็นกองทุน เพื่อทำกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ของการรับจัดตั้งมูลนิธิ
- ต้องมีกองทุนที่เป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ในกรณีที่มีทรัพย์สินอย่างอื่น ในจำนวนนั้นต้องมีเงินสดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 250,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมเงินสดและทรัพย์สินอย่างอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
- ในกรณีที่มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนา สาธารณภัย และเพื่อการบำบัดรักษา ค้นคว้า ป้องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยหน่วยงานของรัฐจะได้รับการผ่อนผันให้มีทรัพย์สินเป็น กองทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท ซึ่งในกรณีที่มีทรัพย์สินอย่างอื่นอยู่ด้วยจะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 100,000 บาทซึ่งเมื่อรวมเงินสดและทรัพย์สินอย่างอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 200,000 บาท
การดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิ
- ต้องมีคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป เป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิโดยจัดเตรียม รายชื่อ อายุ ที่อยู่ อาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ ตำหน่งของกรรมการทุกคน พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการทุกท่าน
- ต้องมีการทำรายการทรัพย์สิน และรายละเอียดชื่อและที่อยู่เจ้าของทรัพย์สินที่จะจัดสรรในการจัดตั้งมูลนิธิ และรายการทรัพย์สินที่ยกให้มูลนิธิ โดยมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลเจ้าของทรัพย์สินประกอบ
- มีการจัดทำหนังสือคำมั่นสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิ (ถ้าเป็นเงินต้องมีหนังสือรับรองจากธนาคารว่าผู้ให้มีเงินฝากในบัญชีของธนาคารตามจำนวนที่จะให้กับมูลนิธิ โดยผู้รับคำมั่น และผู้ให้คำมั่นจะต้องไม่เป็นบุคคลคนเดียวกัน
- มีสำเนาพินัยกรรม ในกรณีที่การขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือจัดสรรทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิ เกิดขึ้นโดยผลของพินัยกรรม
- มีการจัดทำข้อบังคับของมูลนิธิ ซึ่งต้องประกอบไปด้วย ชื่อมูลนิธิ วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ที่ตั้งมูลนิธิ และสาขาของมูลนิธิ (ในกรณีถ้ามีสาขา) ทรัพย์สินของมูลนิธิเมื่อจัดตั้ง ข้อกำหนดเกี่ยวกับกรรมการ ได้แก่ จำนวนของกรรมการ กำหนดตำแหน่งกรรมการ (ยกตัวอย่าง เช่น ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ และเลขานุการ เป็นต้น) การแต่งตั้งกรรมการ วาระในการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการมูลนิธิ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน และบัญชีของมูลนิธิ
- แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ตั้งสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
- มีการจัดทำรายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ (โดยระบุ ชื่อมูลนิธิ วัตถุประสงค์ รายชื่อกรรมการ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ)
- หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นที่ตั้งมูลนิธิ จากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง พร้อมแนบเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการครอบครองของ
ผู้อนุญาต ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ใบอนุญาตก่อสร้าง โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขายที่ระบุหมายเลขประจำบ้าน เป็นต้น
- มีการแต่งตั้งผู้ดำเนินการในการยื่นเรื่องการจัดตั้งมูลนิธิ
- แบบคำรับรองของบุคคลผู้จะเป็นกรรมการมูลนิธิ
ขั้นตอนการรับจัดตั้งมูลนิธิ
- ดำเนินการยื่นแบบคำขอ พร้อมเอกสารประกอบตามที่ราชการกำหนด
– ในกรณีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร ยื่นที่สำนักงานเขต
– ในกรณีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ต่างจังหวัดยื่นที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ
- เมื่อสำนักเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้รับคำขอการจัดตั้ง จะดำเนินการตรวจสอบดังต่อไปนี้
2.1 ตรวจสอบคำขอและข้อบังคับว่าถูกต้องหรือไม่
2.2 ตรวจสอบวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ โดยวัตถุประสงค์ต้องไม่ขัดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน หรือต่อความมั่นคงของรัฐ
2.3 ตรวจสอบรายการในคำขอหรือข้อบังคับ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
2.4 ตรวจสอบประวัติผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิ ต้องมีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
- สำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ จะพิจารณาความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสารก่อน หลังจากนั้นจะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อนายทะเบียน ซึ่งนายทะเบียนมูลนิธิในกรุงเทพมหานคร คือปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายทะเบียนมูลนิธิในต่างจังหวัดคือผู้ว่าราชการจังหวัด
- เมื่อนายทะเบียนที่รับผิดชอบรับจดทะเบียนแล้ว จะออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนมูลนิธิ (ม.น.3) และส่งประกาศรับจดทะเบียนมูลนิธิ ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วส่งเรื่องคืนไปยังสำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ และแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ
เพื่อขอรับใบสำคัญฯ และชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ
ติดต่อบริการรับจัดตั้งมูลนิธิ
ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799, 084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com