จดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง กับ สคบ

จดทะเบียนกับ สคบ. (รับจดสคบ.)

การซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตหรือออนไลน์ (E-commerce) เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ผู้บริโภค ได้อย่างทั่วถึง เป็นจำนวนมาก และทำการตลาดได้ทั่วโลก
ผู้จำหน่ายสินค้าออนไลน์ นอกจากจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์แล้ว ยังจำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นผู้ทำ
การตลาดแบบตรงและวางหลักประกันกับทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) /จดทะเบียนกับสคบ. เนื่องจากการขายสินค้าออนไลน์ถือว่าเป็นการตลาดแบบตรง และต้องจดทะเบียนทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงกับ สคบ.

จดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง (จดทะเบียนสคบ.)

นิยามการตลาดแบบตรงตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง หมายถึงการทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอ ขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละราย ตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ ตลาดแบบตรงนั้น
ปัจจุบันคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้มีการตรวจสอบเข้มขึ้นโดยเฉพาะผู้ค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านช่องทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก แอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ ในกรณีบุคคลธรรมดาที่มียอดขายเกินกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท หรือในกรณีเป็นนิติบุคคลถึงแม้ยอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านก็ต้องจดทะเบียนเป็น ผู้ค้าตลาดแบบตรง ตาม พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2560 หากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงไม่ไปจดทะเบียนประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง จะมีโทษจำคุก 1 ปี และปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีการปรับเพิ่มอีกวันละ 10,000 บาทจนกว่าจะเลิกฝ่าฝืน เหตุผลที่ สคบ. บังคับให้จดทะเบียนเนื่องจากป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ขายสินค้าออนไลน์ในการยื่นขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงกับสคบ. (ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง/จดทะเบียนกับสคบ.)

ลักษณะการขายที่ถือว่าเป็นการตลาดแบบตรง

  • มีเว็บไซต์ขายสินค้า ซึ่งสินค้านั้นอาจจะเป็นสินค้าของเจ้าของเว็บไซต์เอง หรือขายสินค้าของบุคคลอื่นผ่านเว็บไซต์
  • ขายผ่านสื่อโทรทัศน์ดาวเทียม และมีการให้สั่งซื้อสินค้าผ่านรายการ โดยโทรศัพท์เข้าไปสั่งซื้อ
  • ขายของออนไลน์ ทั้งที่ขายผ่านช่องทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊กแอปพลิเคชันไลน์ หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ

ธุรกิจรูปแบบการขายสินค้าและบริการที่ยกเว้นไม่ถือว่าเป็นการตลาดแบบตรง

โดยธุรกิจดังกล่าวประกอบไปด้วย

  • ผู้ที่ขายสินค้าและบริการบุคคลธรรมดา ไม่ได้จดทะเบียนประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงและมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เกิน 1 ล้าน 8 แสนบาทต่อปี
  • ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • การขายสินค้าและบริการของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
  • การขายสินค้าและบริการของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์

ตัวอย่างใบอนุญาตประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงจากสคบ. (ใบอนุญาตสคบ.)

การวางหลักประกันในการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงกับ สคบ.

วงเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงกับสคบ.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

1. ยื่นคำขอรายใหม่

1.1 กรณีบุคคลธรรมดา ต้องวางหลักประกันเป็นเงินจำนวนห้าพันบาท
1.2 กรณีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ต้องวางหลักประกันเป็นเงินจำนวนสองหมื่นห้าพันบาท

2. ผู้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงกับ สคบ.แล้ว

2.1 กรณีมีรายได้ไม่เกินยี่สิบห้าล้านบาทต่อปี
– ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ต้องวางหลักประกัน เป็นเงินจำนวนห้าพันบาท
– ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ต้องวางหลักประกันเป็นเงินจำนวนสองหมื่นห้าพันบาท
2.2 กรณีมีรายได้เกินยี่สิบห้าล้านบาท แต่ไม่เกินห้าสิบล้านบาทต่อปี ต้องวางหลักประกันเป็นเงินจำนวนห้าหมื่นบาท
2.3 กรณีมีรายได้เกินห้าสิบล้านบาท แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาทต่อปี ต้องวางหลักประกันเป็นเงินจำนวน
หนึ่งแสนบาท
2.4 กรณีมีรายได้เกินหนึ่งร้อยล้านบาทต่อปี ต้องวางหลักประกันเป็นเงินจำนวนสองแสนบาท

บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด เป็นผู้ให้บริการรับจดทะเบียนธุรกิจทุกประเภท รวมถึงรับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รับจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง กับสคบ. และรับจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจขายตรงกับ สคบ. (รับจดสคบ.) ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์โดยตรง เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจขายของออนไลน์ของท่านถูกกฎหมาย ไม่ต้องกังวลใจในเรื่องค่าปรับหรือคดีความแต่อย่างใด

สนใจบริการ รับจดทะเบียนประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงกับ สคบ. (รับจดสคบ.) ปรึกษาเราได้ฟรี